วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทเรียนสัปดาห์ที่ 10

วันนี้ก็เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการออกไปสอนตามแผนของตัวเอง ซึ่่งในวันนี้ก็เหมือนเดิม อาจารย์ก็จะมีการคอมเม้นท์เกี่ยวกับการสอนของแต่ละคนทำให้เราสามารถนำคำแนะนำของอาจารย์มาปรับใช้ใการสอนและการเขียนแผนของตนเองได้อย่างมาก 

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทเรียนสัปดาห์ ที่ 8

 วันนี้ก็เป็นสัปดาห์ที่ต้องออกมาสอบสอนซึ่งก็ได้สอบสอนเกี่ยว City and the place ซึ่งบรรยากาศในห้องเรียนก็เต็มไปด้วยหลายทั้งตื่นเต้น สนุก พร้อมกับเสียงหัวเราะของแต่ละคน และจากที่ได้ออกไปสอบสอนแล้วอาจารย์ก็จะมีการคอมเม้นท์ว่าแผนของเราควรต้องมีการปรับปรุงแก้ไขส่วนใหนบ้าง และวิธีการสอนหรือ กิจกรรมที่ใช้ในการสอนของเราถ้าจะให้ดีนั้นควรต้องมีการสอนแบบใหน ซึ่งในวันนี้ก็ได้ความรู้มากมายอย่างยิ่งและที่สำคัญเราสามารถที่จะนำคำคอมเม้นท์ของอาจารย์มาใช้ในการสองของเราด้วย

สรุปบทเรียนสัปดาห์ที่ 7

 วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาสอบสอนตามแผนการเรียนรู้ของตัวเองซึ่งเราสามารถที่จะเรียนรู้วิธีการสอนของเพื่อนๆที่หลากหลายและการแนะนำของอาจารย์ เช่น อาจารย์ก็จะแนะนำเริ่มต้นเข้าสู่บทเรียนว่าเด็กๆเขาจะชอบแบบใหน ซึ่งในวันนี้เราก็สามารถได้ความรู้จากตรงนนี้นำมาประยุกต์ใช้กับอการสอบสอนของเราเองในวันข้างหน้าได้อีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทเรียนสัปดาห์ที่ 6


            วันนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำแผนการสอนได้เยอะมาก เพราะอาจารย์จะให้ทุกๆคนออกไปนำเสนอแผนการสอนของตัวเองซึ่งถ้ามีแผนการสอนที่ดูแล้วยังไม่ถูกซักเท่าไร อาจารย์ก็จะให้การแนะนำมาแก้ใหม่ทำให้เรียนรู้จากตรงนั้น และที่สำคัญทำให้เราได้เรียนรู้การทำแผนที่ดีต้องมีดังนี้ 1. สาระสำคัญ 2. ตัวชี้วัด 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ ก็ต้องแยกเป็น 2 ส่วน คือ 3.1 จุดประสงค์ปลายทาง 3.2 จุดประสงค์นำทาง    4.สาระการเรียนรู้ 5. การวัดและประเมินผล ซึ่งต้องมีรายละเอียดด้วยคือ ต้องเขียน ทักษะที่ต้องการวัด ภาระงาน/ร่องรอยหลักฐาน เครื่องมือที่ใช้วัด และ วิธีการวัดและเกณฑ์การให้คะแนน 6.กิจกรรมการเรียนรู้ ซึงส่วนนี้เราต้องเขียนให้ชัดเจนว่าเราต้องการสอนอะไรและต้องเขียนให้เป็นลำดับขั้นด้วยลำดับขั้นที่ว่านี้ก็คือ -ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน -ขั้นนำเสนอ -ขั้นฝึก -ข้ำนำไปใช้ -ขั้นสรุป 7. สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้ 8. บันทึกผลหลังการสอน  8.1 ผลการสอน 8.2 ปัญหาและอุปสรรค   8.3 ข้อเสนอแนะ/ แนวทางการแก้ไข

สรุปบทเรียนสัปดาห์ที่ 5

วันนี้ได้เรียนเกี่ยวกับการจัดทำโครงสร้างรายวิชา ซึ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การสร้างโครงสร้างรายวิชาซึ่งโครงสร้างรายวิชาก็มีความหมายดังนี้ เป็นการกำหนดขอบข่ายรายวิชาที่จะจัดสอนผู้ช่วยให้ผู้สอนและผู้เกี่ยวข้อง เห็นภาพรวมของแต่ละรายวิชาว่า ประกอบด้วยการเรียนรู้ จำนวน เท่าใด เรื่องใดบ้าง แต่ละหน่วยพัฒนาให้ผู้เรียนบรรลุตัวชี้วัดใด เวลาที่จะใช้จัดการเรียนการสอนและสัดส่วนการเก็บคะแนนของรายวิชานั้นเป็นอย่างไร
ส่วนความสำคัญของการจัดทำโครงสร้างรายวิชา คือ จะช่วยให้ครูผู้สอนเห็นความสอดคล้องเชื่อมโยงของลำดับการเรียนรู้หนึ่งๆ ว่าครูจะสอนอะไร ใช้เวลาสอนเรื่องนั้นเท่าไร และจัดลำดับการเรียนรู้ต่างๆอย่างไร ทำให้มองเห็นภาพรวมของรายวิชาอย่างชัดเจน  ต่อไปก็เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างรายวิชา ก็มีองค์ประอบหลักๆ ดังนี้
   - มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด ที่เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนสำหรับหน่วยนั้นๆ ซึ่งอาจมาจากกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกันหรือต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกันมาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด อาจมีการสอนหรือฝึกซ้ำให้เกิดความชำนาญ และมีความรู้กว้างขวางขึ้นในหน่วยการเรียนรู้มากกว่า 1 หน่วยได้
   - สาระสำคัญ เป็นความรู้ ความคิด ความเข้สใจที่ลึกซึ้ง หรือความรู้ที่เป็นแก่นเป็นหลักของเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ที่เกิดจากการหลอมรวมของมาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัดในหน่วยการเรียนรู้
   - ชื่อหน่วยการเรียนรู้ จะต้องสะท้อนให้เห็นสาระสำคัญของหน่วยการเรียนรู้น่าสนใจ เหมาะสมกับวัย มีความหมายความสอดคล้องกับชีวิตจริงของผู้เรียน 
   - เวลา ควรมีความเหมาะสมและเพียงพอกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
   -  น้ำหนักคะแนน การกำหนดน้ำหนักคะแนนเป็นส่วนช่วยให้เห็นทิศทาง การจัดเวลา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผล ให้สอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัด

สรุปบทเรียนสัปดาห์ที่ 4

ในสัปดาห์นี้ อาจารย์ได้สอนให้เรา เขียนคำอธิบายรายวิชา

อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเพื่อให้เราได้ช่วยคิดกับเพื่อนในกลุ่มในการเขียนคำอธิบายรายวิชา

แต่ละกลุ่มต่างก็ช่วยกันคิด จนสามารถคิดกันได้พอสมควร เมือได้คำอธิบายรายวิชาแล้ว

เราก็จะสามารถเขียนโครงสร้างรายวิชาต่อไปได้ ส่วนองค์ประกอบสำคัญของตำอธิบายรายวิชาจำแนกได้ 3 ส่วน ดังนี้ 

     ส่วนที่1 ประกอบด้วย รหัษวิชา ...... ชื่อรายวิชา ........ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ........ ชั้นปี จำนวนชั่วโมงหรือหน่วยกิต
     ส่วนที่ 2 เนื้อหาซึ่งประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะกระบวนการ และตุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยมีแนวการเขียนที่สำคัญ ดังนี้ 
      1. ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
      2. ผู้เรียนสามารถทำอะไรได้บ้าง
      3, ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงปะสงค์อะไรบ้าง ตามหลักสูตรแกน
กลาง และตามธรรมชาติของวิชา
    ส่วนที่ 3 ระบุรหัษตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ทั้งหมดในรายวิชานั้น

สรุปบทเรียนสัปดาห์ที่ 3


             สัปดาห์นี้ก็เป็นวันที่2 ที่ได้เรียนวิชา (หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ) ในวันนี้พวกเราก็เรียนเกี่ยวกับ หลักการสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ซึ่งหลักสูตรแกนกลางของการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีสาระการเรียนรู้ดังนี้ สาระการเรียนรู้ประกอบด้วยองค์ความรู้ ทักษะกระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ หรอคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องเรียนรู้ โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้ 
1. คณิตศาสตร์
2. วิทยาศาสตร์
3. ภาษาไทย
4.ภาษาต่างประเทศ
5.สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
6.การงานอาชีพและเทคโนโลยี
7.ศิลป่ะ
8.สุขศึกษาและพลศึกษา                 
              หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวิศัยทัสน์ของหลักสูตดังนี้
            หลัักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
                         จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนของหลักธรรมพระพุทธศาสนา หรือศาศนาที่ตนนับถือ ยุดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสารการคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัยและรักการออกกำลังกาย
4. มีความรักชาติ มีจิตในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองในระบอยประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำเป็นประโยคและสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
                          สมรรถนะของผู้เรียน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ 5ประการ คือ 
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
                         คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
1. รักชาตร์ ศาสนา กษัตริย์
2. ซื่อสัตร์สุจริต
3. มีวินัย
4.ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นไทย
8. มีจิตรสาธารณะ




สรุปบทเรียนสัปดาห์ที่ 2



วันนี้ก็เป็นวันที่สองของการเรียนวิชาหลักสูตร ซึ่งพวกเราก็เรียนเกี่ยวกับ ดังนี้
สาระมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
สาระ
              สาระที่เป็นองค์ความรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร
สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม
สาระที่ ๓ ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐานการเรียนรู้
              มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน
สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจกระบวนการฟังและการอ่าน สามารถตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และนำความรู้มาใช้อย่างมีวิจารณญาณ
มาตรฐาน ต ๑.๒ มีทักษะในการสื่อสารทางภาษา แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็น โดยใช้เทคโนโลยีและการจัดการที่เหมาะสม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มาตรฐาน ต ๑.๓ เข้าใจกระบวนการพูด การเขียน และสื่อสารข้อมูล ความคิดเห็น และความคิดรวบยอดในเรื่องต่างๆได้อย่างสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพและมีสุนทรียภาพ
สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต ๒.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
มาตรฐาน ต ๒.๒ เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษา และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างมีวิจารณญาณ
สาระที่ ๓ ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

มาตรฐาน ต ๓.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นและเป็น พื้นฐานในการพัฒนาและเปิดโลกทัศน์ของตน

สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก

มาตรฐาน ต ๔.๑ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศ ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม

มาตรฐาน ต ๔.๒ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การศึกษาต่อ
การประกอบอาชีพ การสร้างความร่วมมือ และการอยู่ร่วมกันในสังคม

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทเรียน 1

                             วันนี้มาทบทวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างบล็อกหลังจากที่ไม่ใช้มานาน ซึ่งวันนี้ก็มาเรียนรู้เกี่ยวกับการเพิ่มลิงค์ของเพื่อน การใส่ Calendar Counter และ Clock